กลุ่มธุรกิจแชโบล

admin5
Offline
Joined: 05/06/2012

แชโบลเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ในประเทศเกาหลีใต้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในช่วงวิกฤตปี 1997 หรือวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 40 ที่หลายประเทศเผชิญ ต้องล้มละลายจนต้องปฏิรูปประเทศ
กลุ่มธุรกิจแชโบลนี้เกิดขึ้นจริงตั้งแต่ปี 1920 และมีการพัฒนาเติบโตเรื่อยมาจนมารุ่งเรืองในช่วงปี 1960-1990 ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่เติบโตสูงสุดของกลุ่มธุรกิจแชโบล เนื่องจากว่าได้รับการสนับสนุนอย่างมาก

1

ในสมัยประธานาธิบดี ปักจุงฮี  ซึ่ง ปักจุงฮี ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งแชโบล ประธานาธิบดี ปักจุงฮี ได้ให้สนับสนุนจัดตั้งระบบธุรกิจแชโบลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยที่รัฐบาลจะเป็นคนกำหนดแผนการนโยบายการผลิตและสนับสนุนสินเชื่อธนาคารของรัฐให้กับกลุ่มแชโบลธุรกิจแชโบล ในช่วงระยะเวลานี้สื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนกับรัฐ จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์ ดูไปดูมาก็คล้ายๆ กับบ้านเรา ที่มีนักธุรกิจหรือกลุ่มทุนคอยสนับสนุนพรรคการเมือง หรือการวิ่งเข้าหานักการเมืองเพื่อแลกกับการที่บริษัทของตนจะได้สัมปทานที่สำคัญของประเทศเลยนะ กลับมากันที่แชโบลกันต่อ รัฐบาลในสมัยนั้น จะเป็นผู้ที่ผูกขาดทรัพยากรในประเทศทุกประเภทรวมถึงสถานบันการเงินและธนาคาร ทำให้การเข้าถึงเป็นไปได้ยาก จะมีก็แต่กลุ่มนักธุรกิจที่มีความสนิทสนมกับรัฐบาลเท่านั้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในเกาหลีใต้ช่วงนี้เป็นแบบผูกขาด และยังพบด้วยว่า กลุ่มธุรกิจแชโบลมีการให้เงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองอีกด้วย

2
ตัวอย่าง กรณีของนาย Lee Byung-chul ผู้ก่อตั้งซัมซุง ที่หลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่าเขาร่ำรวยมาจากการที่มีเครือข่ายกับนักการเมือง เห็นได้จากเขาเป็นผู้บริจาคสำคัญให้กับพรรคเสรีนิยมเป็นเงิน 64 ล้านวอน

3

แต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจแชโบลก็ยังอยู่ในประเทศเกาหลีใต้และมีรายได้เท่ากับ 80% ของ GDP ประเทศ แต่ก็ยังมีกระแสต่อต้านจากประชาชนชาวเกาหลีใต้ให้เห็นอย่างมาก
กลุ่มธุรกิจแชโบลที่แข็งแกร่งมากที่สุดคือ กลุ่มภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันว่า super chaebols มี 5 บริษัทใหญ่ได้แก่ Samsung Daewoo Hyundai lucky goldstar หรือ Lg และ sk
กลุ่มเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกาหลีใต้มีเศรษฐกิจที่เติบโตพัฒนาอย่างรวดเร็วส่วนหนึ่งก็มาจากกลุ่มแชโบล แต่ก็เหมือนเนื้อร้ายกำลังมาเยือนประเทศเกาหลีใต้ เมื่อรัฐบาลกลับขาดการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจแชโบล ทำให้กลุ่มธุรกิจแชโบลเริ่มเป็นอิสระจากรัฐบาล ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ถูกแรงกดดันจากต่างชาติให้เปิดเสรีทางการค้า จนแชโบลเริ่มพยายามเข้าไปถือครองหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินและธนาคารต่างๆ
ทำให้กลุ่มแชโบลสามารถกู้เงินมาลงทุนได้อย่างอิสระ จนในที่สุดก็กู้เงินมาลงทุนมากจนเกินขนาดและทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ไปพร้อมๆ กับประเทศในแถบเอเชียเจอกับวิกฤตการณ์ค่าเงินเอเชีย ในปี 1997 เช่นเดียวกัน ส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการส่งออกของเกาหลีใต้อย่างหนัก และในที่สุด  Chaebol กลุ่มต่างๆ ในเกาหลีใต้ล้มละลายลงอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีถัดมา 1998 เศรษฐกิจเกาหลีใต้หดตัวลงอย่างหนักโดยติดลบถึง 5.8% รัฐบาลเกาหลีใต้จึงต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจและเร่งผ่าเนื้อร้ายโดยเฉพาะการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol อย่างจริงจัง โดยการยกเลิกการค้ำประกันหนี้ระหว่างบริษัทในเครือของ Chaebol กลุ่มต่างๆ ปรับโครงสร้างทางการเงินและปรับปรุงระบบบัญชีของกลุ่ม Chaebol เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของ Chaebol
การที่คนเกาหลีใต้เขารักในประเทศของเขามากที่ไม่ใช่เพียงแต่ปากพูด เขาตั้งใจทำที่จะปฏิรูปอย่างมีแบบแผนและยุทธศาสตร์อย่างจริงจัง ทำให้เพียงปีเดียว 1999 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 10% เนื่องจากความสำเร็จในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจอย่างจริงจัง รวมทั้งการปฏิรูปกลุ่ม Chaebol ปัจจุบัน Superchaebols ของเกาหลีใต้เริ่มมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้น

 4
แต่ในปัจจุบันกลุ่มธุรกิจแชโบลก็ยังอยู่ในประเทศเกาหลีใต้และมีรายได้เท่ากับ 80 % ของ GDP ประเทศ แต่ก็ยังมีกระแสต่อต้านจากประชาชนชาวเกาหลีใต้ให้เห็นอย่างมาก  *********

jirawat
Offline
Joined: 31/07/2012
ยุทธศาสตร์แชโบ

ยุทธศาสตร์แชโบ เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลเกาหลีใช้เพื่อพัฒนาประเทศจากประเทศด้อยพัฒนาให้กลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
หลักการคือ
เลือกบริษัทที่ทำธุรกิจหรืออยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความแข็งแกร่งพอจะแบกการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไปข้างหน้าได้
ซึ่งตอนแรกจะเป็นอุตสาหกรรมเหล็ก นำมาโดย แดวู (ผลิตรถยนต์ ต่อเรือ อุตสาหกรรมเหล็กครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ)
ต่อมาก็พลังงาน (จำชื่อม่ได้) เทเลคอม (SK Telecom) และ consumer electronic (ซัมซุง และ แอลจี)

เดิมเกาหลีมีทรัพยากรอยู่พอสมควร จึงดึงดูดฝรั่งให้เข้ามาลงทุน ซึ่งรัฐบาลก็เปิดกว้างภายใต้เงื่อนไขว่าต้อง JV กับ 1 ใน แชโบ สัดส่วนสูงสุดไม่เกิน 50%
ตรงนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นยุทธศาสตร์ copy & development และ benchmarking ของเกาหลี (เป้าหมาย benchamrking ง่ายมากครับ คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ชนะญี่ป่น) (ยุทธศาตร์รองๆ ก็มีอีกหลายอย่าง เช่น คนเกาหลีทุกคนต้องรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อจะดูดซับองค์ความรู้ทาง ตต. ได้)
คนเกาหลีก็ไม่ต้องบอกอยู่แล้วยุทธศาสตร์นี้ยังไงก็เอาด้วย (เพราะตอนนั้นยังเกลียดญี่ปุ่นกันพอสมควร) มุมานะทำงานเพื่อสร้างบริษัทเกาหลีให้ไปชนะญี่ปุ่นให้ได้

เริ่มเห็นชัดตอนช่วง '90
ตอนนั้น GDP เกาหลีโตระดับเลข 2 หลักต่อเนื่องหลายปี (ระดับ GDP เข้าไปใกล้เคียงกับญี่ปุ่น) จนถูกเรียกเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเซีย หรือฝรั่งเรียกว่า "Miracle on Han river" (ไทยเราก็โตประมาณนั้นเหมือนกันนะ แล้วก็โดนคาดหมายเหมือนกันว่าจะเป็นเสือตัวที่ 5) ส่วนหนึ่งเกิดจาการที่รัสเซียล่มสลาย เกาหลีจึงสามารถ recruit วิศวกรรัซเซียมาทำงานในบริษัทเกาหลีได้จำนวนมาก

ต้มยำกุ้ง 1997
แล้วไทยเราก็เป็นสาเหตุของความล่มสลาย เมื่อปี 1997 ทำเอาตอนนั้นเกาหลีก็ทรุดตามไปด้วย
ไม่ต้องบอกสำหรับ แชโบ ที่เป็นหลักในการพัฒนาธุรกิจของประเทศ ทรุดไปพอกัน
แต่ก็กลับมาได้เร็วเพราะความมีระเบียบวินัย ความขยัน อดทน และเสียสละของคนเกาหลี (ว่ากันว่าช่วงนั้น นายกฯ เกาหลีออกมาเรียกร้องให้ชาวบ้านบริจาคทองเพื่อไปชำระหนี้ต่างประเทศและเอามาเป็นทองคำสำรองในคลัง ประชาชนเกาหลีก็กลับเข้าไปในบ้านเอาทองมาบริจาคกันใหญ่)

รัฐบาลทบทวนบทบาทแชโบ
แชโบเคยเป็นหัวเรือหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่จากวิกฤต 1997 ก็เห็นแล้วว่ารัฐบาลผ่อนผันให้แชโบอย่างมาก เหมือนเป็นการเอาประเทศไปผูกกับบริษัทเหล่านี้ จึงยกเลิกระบบแชโบ แล้วปล่อยให้บริษัทต่างๆ ยืนด้วยขาตนเอง และต่อสู้กันเองบ้างเพื่อความแข็งแกร่ง

ปัจจุบันระบบแชโบ เหลือแต่ชื่อเท่านั้น ความแข็งแกร่งของบริษัทอดีตแชโบ มาจากฝีมือการบริหารของผู้บริหารเท่านั้น รัฐบาลไม่ได้ยุ่งด้วยแล้ว