การปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Industry 4.0)

No replies
sysadmin
Offline
Joined: 08/03/2012

Industry 4.0 เป็น trend ใหม่ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยถูกกล่าวว่าเป็นเสมือนการปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ต่อจากการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ เมื่อปี ค.ศ. 1784 โรงงานผลิตแบบ mass production เมื่อปี ค.ศ. 1870 และเครื่องใช้ไฟฟ้าและ IT เมื่อปี ค.ศ. 1969
จุดเด่น คือ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบ ในลักษณะ industrial automation เพื่อผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภครายบุคคล แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบ mass production อาทิ การผลิต individual products ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีการพิมพ์ 3D การพัฒนาระบบ smart grid การแพทย์สาขา telemedicine
ทุกภาคส่วนในเยอรมนีเชื่อว่า Industry 4.0 จะเป็นโอกาสที่สำคัญ เนื่องจากแม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นผู้ครองตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้ารายสำคัญ แต่เยอรมนีก็มีจุดแข็งในเรื่องระบบควบคุมการผลิตและเทคโนโลยีด้าน software สมาคมที่เกี่ยวข้องของเยอรมนี อาทิ สมาคมเทคโนโลยีไฟฟ้าและสารนิเทศ (VDE) สมาคมเครื่องจักรกล (VDMA) สมาคมช่างไฟฟ้า (ZVEI) และสมาคมด้าน ICT (Bitkom) ได้บูรณาการความร่วมมือระหว่างสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะเกาหลีใต้ กำลังให้ความสนใจและมีโครงการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในระยะต่อไป อาจนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและต้นทุนการผลิตในแต่ละประเทศ

ประเด็นท้าทายที่สำคัญ

  1. การสร้างบุคลากรรองรับ โดยเฉพาะสาขา mechanical engineering และ electrotechnology ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะ programming และ software ตลอดจนเรื่องการวางแผน การควบคุมงาน และการมีความคิดสร้างสรรค์
  2. ความมั่นคง ทั้งในส่วนของเสถียรภาพ และการรักษาความลับ รวมถึงเรื่อง IPR การโจรกรรมข้อมูล ฯลฯ
  3. การพัฒนามาตรฐานระหว่างประเทศ

การเตรียมพร้อมของเยอรมนี

  1. การหารือนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ โดยเน้น R&D และนวัตกรรม รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้
  2. การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ภาครัฐ ภาคอุสาหกรรม ภาควิชาการและการวิจัย และสหภาพแรงงาน
  3. การพัฒนาความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงทางข้อมูล ภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  4. การก่อตั้งสถาบันและเครือข่ายวิจัยทั่วประเทศ อาทิ German Research Center for Artificial Intelligence เครือข่าย Intelligent Technical Systems OstWestfalenLippe (OWL) ศูนย์จำลอง Smart Factory ของมหาวิทยาลัย Kaiserslautern รวมทั้งมีหลักสูตรใหม่ ๆ อาทิ หลักสูตร Applied Automation มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งกรุงเบอร์ลิน หลักสูตร Human/Computer Systems มหาวิทยาลัย Würzburg หลักสูตร Computer-Aided Medical Procedures & Augmented Reality มหาวิทยาลัยเทคนิคนครมิวนิก หลักสูตร Virtual Reality and Augmented Reality มหาวิทยาลัย Koblenz-Landua หลักสูตร Intelligent Media and Virtual Reality มหาวิทยาลัยเทคนิค Chemnitz หลักสูตร Network Computing มหาวิทยาลัย Freiberg

อนึ่ง ปรากฏข้อวิจารณ์ในสื่อเกี่ยวกับการใช้คำว่า "การปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (The Fourth Industrial Revolution)" เนื่องจากเทคโนโลยีของ Industry 4.0 ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ที่น่าสนใจคือการผสมผสานเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบรับความต้องการของตลาด นัยหนึ่งจึงอาจจะมิใช่นวัตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับการปฏิรูปอุตสากรรม 3 ครั้งก่อน 

อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า เยอรมนีคงพยายามแสดงจุดยืน ในฐานะประเทศที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อรักษาและส่งเสริมสถานภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งในระดับ EU ที่มีข้อกังวลว่า GDP ภาคอุตสาหกรรม ได้ลดลงจากร้อยละ 18.5 เมื่อปี 2543 เหลือร้อยละ 15.2 ในปี 2555 โดยคำนึงว่า ปัจจุบัน สหรัฐฯ กำลังมุ่งส่งเสริม re-industrialization เช่นกัน